ใกล้จะเปิดเทอมเต็มทีน้องๆหลายๆคนที่กำลังมองหาหอพัก และต้องแชร์ห้องพักกับเพื่อนร่วมห้องคนใหม่ คงกำลังจะมีเรื่องให้เป็นกังวลไม่น้อย ว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหาภายหลังหรือไม่
ปัญหารูมเมทนี้แทบจะเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับใครหลายคนไม่น้อยเลย แต่การมีรูมเมทก็ยังมีข้อดีอยู่ นั่นก็คือ การช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะปรับตัวเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีสังคมนอกห้องเรียนมากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือประหยัดเงินเบี้ยเลี้ยงไปไม่น้อยเลยนะ
มาดูกันสิว่าเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรไม่ให้มีปัญหาให้ขุ่นข้องหมองใจกันภายหลัง
1. พูดคุยกันตรงๆ
การที่ต้องอยู่ร่วมกันกับคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวของเรา คนๆนั้นอาจจะมี lifestyle ที่ไม่เหมือนเราหรือไม่ได้ตรงใจเราทุกอย่างนี่คือ สิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับเสียก่อน
ดังนั้นการเริ่มต้นพูดคุยกันจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก หากคนหลายๆคน จากหลายๆครอบครัวต้องมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน บอกถึงสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราชอบทำ และไม่ชอบทำ เพื่อให้เขารู้ตัวแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เวลาเขาได้มีเวลาปรับตัวและยอมรับในสิ่งที่เราเป็นเสียก่อนที่เขาจะมารู้ทีหลัง
ซื่งหากเขาไม่ชอบในสิ่งที่เราทำและเราสามารถแก้ไขมันได้ไหม ถ้าไม่ได้เป็นสิ่งที่ร้ายแรงมากนัก ก็เริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา และอย่าลืมถามเขาด้วยว่าเขาชอบทำหรือไม่ชอบทำอะไร เช่น เราเป็นคนชอบฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ แต่รูมเมทชอบอ่านหนังสือในที่เงียบๆ ก็ต้องพูดคุยกันว่า อาจจะต้องขอให้รูมเมทนั้นไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุด หรือเราไม่เราก็ใส่เป็นหูฟังไปซะ
2. เคารพสิทธิ์ในสิ่งของของรูมเมท
เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดามมาก แต่ก็มักจะกลายเป็นเหตุผลหลักที่รูมเมทจะมีปัญหากันทีหลัง อย่าคิดว่าเขาไม่ใส่ใจหากเรายืมรองเท้าผ้าใบของเขาไปใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ดังนั้น อย่ายืมของใช้พร่ำเพรื่อจนกลายเป็นเคยชิน หรือหยิบของของเขาไปให้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
3. ระมัดระวังการที่จะพาใครเข้ามาในห้อง
เราอาจจะชอบเพื่อนกลุ่มนี้มากๆจึงพาเพื่อนๆมาที่ห้อง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ารูมเมทของเราต้องชอบเขาเหล่านั้นด้วย การพาเพื่อนมาที่ห้องบ่อยๆอาจทำให้รูมเมทอึดอัด ดังนั้นการจะพาใครเข้ามาในห้องและก็ควรจะเกรงใจรูมเมทของเราด้วย
เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดามมาก แต่ก็มักจะกลายเป็นเหตุผลหลักที่รูมเมทจะมีปัญหากันทีหลัง อย่าคิดว่าเขาไม่ใส่ใจหากเรายืมรองเท้าผ้าใบของเขาไปใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ดังนั้น อย่ายืมของใช้พร่ำเพรื่อจนกลายเป็นเคยชิน หรือหยิบของของเขาไปให้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน
3. ระมัดระวังการที่จะพาใครเข้ามาในห้อง
เราอาจจะชอบเพื่อนกลุ่มนี้มากๆจึงพาเพื่อนๆมาที่ห้อง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ารูมเมทของเราต้องชอบเขาเหล่านั้นด้วย การพาเพื่อนมาที่ห้องบ่อยๆอาจทำให้รูมเมทอึดอัด ดังนั้นการจะพาใครเข้ามาในห้องและก็ควรจะเกรงใจรูมเมทของเราด้วย
ที่มารูปภาพ: https://www.flickr.com/photos
4. ปิดประตูห้อง และหน้าต่าง
5. วางตัวเป็นมิตร และไม่ต้องคาดหวังว่าจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด
อย่าคาดหวังว่ารูมเมทจะต้องเพื่อนที่ดีที่สุดเมื่อเราอยู่ที่มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน เพราะในความเป็นจริงเราอาจจะไม่สามารถตัวติดกับเขาไม่ตลอดเวลา เขาอาจจะอยากมีสังคมส่วนตัวของเขาบ้าง และอาจจะไม่ได้อยากสนิทหรือคบหาแต่เราเพียงคนเดียว การไปคาดหวังอะไรหลายๆอย่างยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมา ดังนั้นเราควรจะเป็นมิตรกับรูมเมทของเรา แต่เราก็ควรมีสังคมของเราเองด้วย
6. เปิดใจและปรับตัวรับสิ่งใหม่
6. เปิดใจและปรับตัวรับสิ่งใหม่
รูมเมทของเราอาจจะมาจากที่ไหนสักแห่งที่เราไม่เคยได้ยิน พวกเขาอาจจะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเรา เราควรจะเปิดใจรับสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่ ความคิดใหม่ๆ จากรูมเมทของเราด้วย ปรับตัวเข้าหากันบ้าง รู้จักประนีประนอมเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหาตามมา
7. รักษาความสะอาด
กฎพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างต้องเป็นระเบียบ เรียบร้อยไปเสียหมด แต่อาจหมายถึง เสื้อผ้าไม่ควรวางกองเต็มพื้น ไม่มีแม้แต่ทางจะเดิน กลิ่นเหม็นจากเศษอาหารที่ไม่ได้ทิ้ง ไม่ได้ล้าง หรือแม้กระทั่ง เส้นผมอุดตันท่อน้ำทิ้งในห้องน้ำ ฯลฯ การรับผิดชอบรักษาความสะอาดจากการกระทำของคุณเองมันเป็นเรื่องพื้นฐานอีกเรื่องในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นจริงๆนะ
8. แจงหน้าที่ดูแลห้องให้ชัดเจน
ปัญหาเล็กน้อยที่อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ คงไม่มีใครอยากใช้ชีวิตอยู่ในห้องที่ไม่สะอาด และคงไม่มีใครอยากที่จะปัด กวาด เช็ด ถูห้องอยู่คนเดียวเป็นแน่ การแบ่งภาระความรับผิดชอบว่าใครควรทำความสะอาดตรงไหน คงเป็นวิธีที่ที่ดีที่สุดในการอยู่ร่วมกัน
9. ใจเขาใจเรา
คำนี้เป็นคำที่ได้ยินบ่อย หากเราอยากให้เขาปฏิบัติกับเราอย่างไร ก็ควรเริ่มปฏิบัติอย่างนั้นกับเขาเสียก่อน และรับรองว่า ความสัมพันธ์ของเรากับรูมเมทคงไม่เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก จนมองหน้ากันไม่ติดเป็นแน่ หากเราปฏิบัติได้ตามทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมา
ที่มา: http://collegelife.about.com
เขียนและเรียบเรียง: www.residences.in.th
Comments
Post a Comment