Skip to main content

ธุรกิจอพาร์ทเมนท์ - รวยอย่างเสือนอนกิน

        
                    ทำธุรกิจอพาร์ตเมนต์ ‘รวยอย่างเสือนอนกิน’ จริงหรือ?


                          ภาพจาก: http://www.manager.co.th

        
        หลายๆคนมองธุรกิจอพาร์ทเมนท์ว่า เป็นการลงทุนทำธุรกิจที่มั่นคง ความเสี่ยงต่ำ ได้ผลตอบแทนระยะยาว เงินรายได้จะเป็นฝ่ายเดินเข้ามาหาเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปดิ้นรนไขว่คว้า และมักจะเปรียบการทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์ว่าเป็น "เสือนอนกิน"


ทำธุรกิจอพาร์ตเมนต์ ‘รวยอย่างเสือนอนกิน’ จริงหรือ?
ภาพจาก: http://www.manager.co.th
ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร กูรูด้านการบริหารการเงิน และประธานชมรมคนออมเงิน

        ผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์ ควรจะต้องศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้เสียก่อน ซึ่ง ดร.สุวรรณ เคยให้ข้อมูลไว้ในงานสัมมนาพิเศษ "รวยอย่างเสือนอนกิน กับธุรกิจอพาร์ทเมนท์" ไว้ดังนี้

สำรวจตัวเองว่าเหมาะจะทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์หรือไม่       

     การจะเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจใดๆ นั้น อันดับแรกต้องรู้จักตัวเองก่อนว่า ธรรมชาติของตัวเองเป็นคนเช่นไร และมีความพร้อมต่างๆ เพียงใด เช่น ชอบลงทุนแบบใด มีความถนัดหรือชำนาญด้านใด มีเงินมากน้อยเพียงใด และมีผู้ช่วยคิดช่วยทำหรือไม่ เป็นต้น
       
ทั้งนี้ ประโยชน์ของการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อย่างอพาร์ทเมนท์ จะประกอบด้วย
  1. เป็นทรัพย์สินที่มั่นคงถาวร
  2. ใช้เป็นประโยชน์ได้ทั้งครอบครัว สามารถจับต้องได้อยู่อาศัยได้ ในขณะที่ลงทุนหุ้นเป็นแค่ตัวเลขเท่านั้น
  3. มีโอกาสปรับราคาเพิ่ม หากเป็นทำเลดี ยิ่งนานวันมูลค่ายิ่งเพิ่ม แต่หากเป็นพื้นที่เสี่ยง อย่างพื้นที่เกิดภัยน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ราคาก็อาจตกได้เช่นกัน
  4. มีรายได้ทั้งทางตรงจากค่าเช่า และทางอ้อมจากค่าบริการอื่นๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ เครื่องหยอดเหรียญต่างๆ เป็นต้น
  5. ดอกเบี้ยหักภาษีได้
  6. ง่ายต่อการบริหารงาน ซึ่งเป็นธุรกิจแค่คอยดูแล และเก็บค่าเช่า ค่อยๆ สะสมทรัพย์ ลักษณะเหมือนน้ำซึมบ่อทราย
  7. ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมได้ดี เพราะทุกสถาบันการเงินนิยมหลักทรัพย์ที่เป็นอพาร์ทเมนท์
        สำหรับผู้ที่เหมาะจะลงทุนทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์นั้น ประกอบด้วย ต้องรักงานบริการ ชอบทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พร้อมจะบริหารดูแลทรัพย์สิน หากมีผู้จัดการทั่วไปจะช่วยในส่วนนี้ได้มาก และควรคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะทำให้ธุรกิจล้มเหลวด้วย เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยจากอาชญากรรม เป็นต้น นอกจากนั้นหากใช้เอเยนต์ช่วยหาลูกค้าจะง่ายกว่าหาลูกค้าเอง และที่สำคัญต้องมีเงินทุน 40% ของมูลค่าโครงการ ทั้งที่ดินบวกสิ่งก่อสร้าง ไม่กู้ยืมเงินมากจนเกินกำลัง

        อีกทั้งควรมองปัจจัยการลงทุนให้รอบด้าน ทั้งการสำรวจตลาด ราคาและทำเล ศึกษาความเป็นไปได้ของผลกำไร บริหารการเงินและเงินสด จัดการเรื่องภาษีอากรและเอกสาร รวมถึง พัฒนาให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้า ด้วยการดูแลสถานที่ให้สวยงาม สะอาด ปลอดภัย

เผยปัจจัยแห่งความสำเร็จของการทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์

        ดร.สุวรรณ ระบุว่า ปัจจัยที่จะทำให้ผู้ลงทุนประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์ประกอบด้วย
  1. มีเงินทุนของตัวเอง อย่างน้อย 40% ของเงินลงทุน ห้ามลงทุนแบบจับเสือมือเปล่าเด็ดขาด
  2. ทำเลที่ตั้งต้องดีเดินทางสะดวก โดยทำเลที่ดีที่สุด คือ 
    • ติดมหาวิทยาลัย ซึ่งเด็กนักศึกษาชอบ จะอยู่ยาว 4 ปีตลอดการศึกษาในมหาวิทยาลัย 
    • นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีคนอยู่จำนวนมาก 
    • แหล่งชุมชน และเส้นทางผ่านของรถไฟฟ้า
  3. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เช่น ระบบ Key Card ระบบ รปภ. ซึ่งผู้ทำธุรกิจจำเป็นต้องลงทุน
  4. รักษาความสะอาด ให้สถานที่น่าอยู่ เชิญชวนให้ลูกค้าอยากมาพักอาศัย
  5. ค่าเช่าค่าบริการเหมาะสม สอดคล้องกับทำเล และกลุ่มลูกค้าหลัก เช่น หากตั้งใกล้สถานศึกษา ผู้พักส่วนใหญ่เป็นเด็กนักศึกษา กลุ่มนี้จะรายได้ไม่มาก และอาจจ่ายค่าเช่าไม่ตรง แต่จะใช้จ่ายบริการอื่นๆ สูง เช่น ค่าไฟค่าน้ำ ฯลฯ ฉะนั้น ค่าเช่าไม่ควรจะสูงมาก แต่หากกลุ่มลูกค้าหลักเป็นคนทำงาน กลุ่มนี้จะจ่ายค่าเช่าตรงเวลา แต่ประหยัดการใช้น้ำและไฟฟ้า 
  6. คอยปรับปรุงอาคารให้ใหม่เสมอ 
  7. มีที่จอดรถสะดวก ซึ่งเป็นตัวดึงดูดลูกค้าอย่างดี
  8. บริการรวดเร็ว ยิ้มแย้มแจ่มใส
  9. สภาพห้องพักดี สิ่งแวดล้อมดี 
        ทั้งนี้ รายได้จากการทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์ จะมาจาก
  1. ค่าเช่า-ค่าบริการ
  2. ค่าบริการต่างๆ ทั้งค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า
  3. ค่าตู้ ATM ข้อดีใช้เนื้อที่น้อย และยังช่วยเพิ่มความสะดวก เสริมความน่าเชื่อถือ และแสงส่องสว่าง
  4. ค่าเช่าจากร้านค้าต่างๆ และยังเสริมเอกลักษณ์ให้อพาร์ทเมนท์ด้วย
  5. ตู้หยอดเหรียญต่างๆ เช่น ตู้เครื่องซักผ้า ตู้น้ำ
  6. ค่ามัดจำ มาช่วยเงินหมุนเวียนคล่องตัว 
ภาพจาก: http://www.manager.co.th


ทำเลเยี่ยม-แย่ลงทุนอสังหาริมทรัพย์

        สำหรับทำเลที่น่าสนใจในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น ดร.สุวรรณ ระบุว่า ควรเป็นย่านที่เดินทางสะดวก เช่น ย่านถนนบางนา-ตราด และบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ย่านที่รถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินวิ่งผ่าน หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้า ย่านที่อยู่ในส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า ย่านชานเมืองที่มีการขยายเครือข่ายคมนาคม และย่านใกล้ทางด่วน ทางลอยฟ้าเส้นต่างๆ

        ส่วนทำเลที่ควรหลีกเลี่ยงนั้น ได้แก่ ทำเลใกล้แหล่งมลภาวะ หรือแหล่งมลพิษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ที่ทิ้งขยะ ทางหลวงที่มีการจราจรหนาแน่น หรือทางรถไฟที่มีเสียงดัง อีกทั้งพื้นที่ที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก หรือแผ่นดินทรุด อย่างไรก็ตาม ยกเว้นพื้นที่ทำเลทองจริงๆ เช่น ย่านประตูน้ำ ไม่ว่าจะมีปัจจัยลบใดๆ ก็ยังเป็นทำเลที่ดีเยี่ยมอยู่

        ทั้งนี้ การตัดสินใจลงทุน ระหว่างการซื้ออาคารหรือห้องชุดสำเร็จรูปมาปล่อยเช่า กับการปลูกสร้างเองนั้น มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป กรณีซื้อมานั้น ข้อเสียไม่สามารถเลือกลักษณะอาคารสิ่งปลูกสร้างหรือแบบต่างๆ ตามใจตัวเองไม่ได้ อาจต้องลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม แต่มีข้อดี เมื่อซื้อมาแล้ว สามารถเปิดให้บริการได้ทันที เกิดรายได้โดยเร็ว แต่สำหรับปลูกสร้างเอง ได้แบบตามต้องการ แต่ต้องรอจนกว่าจะสร้างเสร็จ แล้วค่อยหาลูกค้า จึงจะเริ่มมีรายได้

        สำหรับแหล่งเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีต้นทุนต่ำ เช่น บ้านมือสอง, ทรัพย์รอการขาย (NPA) จากสถาบันการเงิน หรือทรัพย์ขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี ทั้งนี้ ระดับการลงทุนในธุรกิร อสังหาริมทรัพย์ หากมีเงินทุนน้อย ควรลงทุนซื้อบ้านหรือห้องชุดเป็นยูนิต เพื่อปล่อยให้เช่า แต่หากมีเงินทุนสูงควรสร้างอพาร์ทเมนท์ให้เช่า

        กรณีขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาลงทุนซื้อห้องชุดให้เช่านั้น สามารถกู้เงินได้ 80-95% จากราคาซื้อขาย ระยะเวลากู้สูงสุด 20 ปี และที่สำคัญ ผู้ลงทุนต้องมีภาระเงินผ่อนไม่เกิน 40% ของรายได้รวม

        กรณีมีเงินทุนมาก ลงทุนสร้างอพาร์ทเมนท์ให้เช่า การใช้บริการสถาบันการเงิน มักต้องการให้ท่านลงทุนด้วยเงินของตนเองมากๆ และกู้น้อยๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ค่าที่ดิน ลูกค้าควรลงทุนในไม่ต่ำกว่า 50% ส่วนค่าก่อสร้าง สถาบันการเงินมักจะให้กู้ไม่เกิน 70% ของค่าก่อสร้าง

   สำหรับการลงทุนอพาร์ทเมนท์แบ่งเป็นค่าที่ดิน 25% ค่าก่อสร้าง 65% ค่าใช้จ่ายระหว่างก่อสร้าง 5% ดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง 5% รวม 100% โดยควรจะเป็นทุนส่วนตัว 40% และเงินกู้ 60%

ชี้ลงทุนอพาร์ทเมนท์กำไรน้อยกินยาว

        ดร.สุวรรณ เผยด้วยว่า สำหรับค่าเฉลี่ยในการทำกำไรจากธุรกิจอพาร์ทเมนท์อยู่ที่ประมาณ 7-8% ซึ่งถือเป็นระดับกำไรที่ไม่หวือหวามากนัก แต่มีข้อดีที่เป็นการลงทุนระยะยาว และเกิดเป็นสินทรัพย์ถาวรที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่าในอนาคต โดยอัตราคืนทุนอย่างเร็วภายใน 7 ปี และอย่างช้า 10 ปี

        ทั้งนี้ พึ่งระลึกไว้เสมอว่าไม่ว่าท่านจะเลือกลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทใด ท่านจะต้องคำนวณรายได้สุทธิต่อเดือน ให้สามารถชำระหนี้หรือค่างวดในแต่ละเดือนให้แก่ธนาคารได้ มิเช่นนั้นการลงทุนไม่เพียงแต่จะไม่ก่อให้เกิดรายได้แล้ว ยังกลับก่อหนี้ให้แก่ท่านเองอีกด้วย ดังนั้นจึงควรมีกระแสเงินสดสำรองอื่นด้วย

ภาพจาก: http://www.manager.co.th

ฟันธงธุรกิจอพาร์ทเมนท์แนวโน้มโตต่อเนื่อง

        สำหรับตลาดอพาร์ทเมนท์ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ชลบุรี/พัทยา นครปฐม เชียงใหม่ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี นครราชสีมา หัวหิน ภูเก็ต และสงขลา ซึ่งอพาร์ทเมนท์ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนใหญ่เป็นอพาร์ทเมนท์ที่จับตลาดคนทำงาน ในขณะที่อพาร์ทเมนท์ในต่างจังหวัดมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากการขยายตัวของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

        ทั้งนี้ อัตราการเติบโตของธุรกิจอพาร์ทเมนท์ เมื่อแบ่งตามกลุ่มลูกค้าพบว่า อพารท์เมนต์ที่เน้นลูกค้ากลุ่มคนทำงานและนักศึกษามีการเติบโตของอัตราค่าเช่าและยังมีอัตราการพักที่ดีเฉลี่ย 92% และ 94% ตามลำดับ ในขณะที่อพาร์ทเมนท์ที่เน้นลูกค้ากลุ่มแรงงานนอกจากจะอัตราค่าเช่าไม่ค่อยเติบโตแล้ว พบว่าอัตราเข้าพักมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกเป็นอย่างมาก

        ส่วนปัจจัยลบที่ส่งผลต่อธุรกิจอพาร์ทเมนท์ ได้แก่ การขยายตัวของคอนโดมีเนียมราคาล้านต้นๆ ที่เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดของผู้เช่าอพาร์ทเมนท์ ทำให้กลุ่มลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อเพื่อพักอาศัย และกลุ่มนักลงทุนที่ซื้อเพื่อปล่อยเช่า และนโยบายค่าแรงขั้นต่ำบีบให้หลายโรงงานลดต้นทุนประเภทค่าแรงหรือย้ายฐานผลิต

       


ทำธุรกิจอพาร์ทเมนท์ ‘รวยอย่างเสือนอนกิน’ จริงหรือ
ข้อดี 
1.เป็นทรัพย์สินที่มั่นคงถาวร
2.ใช้ประโยชน์ได้ทั้งครอบครัว สามารถจับต้องพักอาศัยได้
3.มีโอกาสปรับราคาเพิ่ม หากทำเลดี ยิ่งนานวันมูลค่ายิ่งเพิ่ม
4.มีรายได้ทั้งค่าเช่า และค่าบริการอื่นๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ เครื่องหยอดเหรียญ เป็นต้น
5.ดอกเบี้ยหักภาษีได้
6.ง่ายต่อการบริหารงาน แค่คอยดูแลเก็บค่าเช่า และบำรุงรักษา
7.ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมได้ดี 
ข้อเสีย
1.ใช้เงินลงทุนสูง
2.กำไรโดยเฉลี่ยน้อย ประมาณ 7-8%
3.อัตราคืนทุนช้า ภายใน 7-10 ปี
4.เสี่ยงจากเหตุคาดไม่ถึง เช่น ภัยน้ำท่วม อาชญากรรม ฯลฯ
5.การเติบโตคอนโดมีเนียมราคาถูกเข้ามาชิงลูกค้า
6.มีกฎระเบียบต่างๆ ทางกฎหมายที่มากและซับซ้อน
7.ทำเลดีมักถูกจับจองไปแล้ว
ลูกค้าเป้าหมาย
1.นักศึกษา
2.คนทำงานกินเงินเดือนประจำ
3.กลุ่มคนใช้แรงงาน 
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.ต้องมีทุนของตัวเอง อย่างน้อย 40% ของเงินลงทุนรวม
2.ทำเลดี ใกล้มหาวิทยาลัย นิคมอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน และเส้นทางผ่านของรถไฟฟ้า
3.มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
4.สะอาดน่าอยู่ เชิญชวนให้ลูกค้าอยากมาพักอาศัย
5.ค่าเช่าค่าบริการเหมาะสม สอดคล้องกับทำเล และกลุ่มลูกค้า
6.คอยปรับปรุงสถานที่ให้ใหม่เสมอ
7.มีที่จอดรถสะดวก ดึงดูดลูกค้า
8.เจ้าของมีใจรักงานบริการ
ทำเลยอด
-ย่านใกล้สถาบันการศึกษา
-ย่านถนนบางนา-ตราด และบริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ
-ย่านที่รถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินวิ่งผ่าน หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้า
-ย่านที่อยู่ในส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า
-ย่านชานเมืองที่มีการขยายเครือข่ายคมนาคม
-ย่านใกล้ทางด่วน ทางลอยฟ้าเส้นต่างๆ
ทำเลแย่
-ใกล้แหล่งมลภาวะ หรือแหล่งมลพิษ เช่น โรงงาน ที่ทิ้งขยะ
-ทางหลวงที่มีการจราจรหนาแน่น หรือทางรถไฟที่มีเสียงดัง
-พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก หรือแผ่นดินทรุด
-พื้นที่แนวประกาศเวนคืนในอนาคต
***ข้อมูลรวบรวมจากงานสัมมนา “รวยอย่างเสือนอนกิน กับธุรกิจอพาร์ทเมนท์” โดยธนาคารเกียรตินาคิน ****

ที่มา :  http://www.manager.co.th
เรียบเรียงโดย : www.residences.in.th

Comments

Popular posts from this blog

MRT กำแพงเพชร

MRT กำแพงเพชร เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล บนถนนกำแพงเพชร กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างสถานีจตุจักร และสถานีบางซื่อ  ที่ตั้งของสถานีอยู่บริเวณตลาดนัดจตุจักร และตลาดกลาง อ.ต.ก. ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายแห่งใหญ่ของกรุงเทพมหานคร มีสินค้าหลากหลายและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก จึงมีผู้โดยสารใช้บริการมากโดยเฉพาะช่วงวันหยุด และยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 มากที่สุด ด้วยระยะทางตามถนนกำแพงเพชร 2 เพียง 1.8 กิโลเมตรเท่านั้น สถานที่ใกล้เคียง องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และ ตลาดกลาง อตก. ตลาดนัดจตุจักร ตลาดซันเดย์ สถานีตำรวจย่อยกำแพงเพชรสถานีตำรวจนพวงศ์ กองกำกับการ 1 กองตำรวจรถไฟ จตุจักร เดย์ แอนด์ ไนท์ จตุจักรพลาซ่า เจ.เจ.มอลล์ จตุจักร ตลาดนัดติดแอร์ จตุจักรสแควร์ องค์การส่งเสริมกิจการโคมนมแห่งประเทศไทย ร้านภูฟ้า สาขาถนนกำแพงเพชร และร้านจิตรลดา สาขาถนนกำแพงเพชร 2 ศูนย์การค้าเจตเจริญสุข และร้านอาหารชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย จตุจักร สถาบันการบินพลเรือน กรมการขนส่งทางบก สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีสะพานควาย รถไฟ

MRT ตลาดบางใหญ่

MRT ตลาดบางใหญ่ เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษกใกล้กับย่านชุมชนบริเวณตลาดบางใหญ่ สถานีมีพื้นที่ใช้สอย 3 ระดับ และมีความยาวประมาณ 300 เมตร เช่นเดียวกับสถานีคลองบางไผ่ สถานที่ใกล้เคียง บิ๊กซี สาขารัตนาธิเบศร์ โฮมโปร สาขารัตนาธิเบศร์ ตลาดกลางบางใหญ่ ตลาดกลางผักและผลไม้จังหวัดนนทบุรี เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต อิเกีย บางใหญ่ (IKEA Bangyai) สำนักงานที่ดิน นนทบุรี ตลาดมิกซ์บางใหญ่ โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ รัตนาธิเบศร์ รายละเอียดทางเข้า - ออก สถานี ทางเข้า-ออกหมายเลข รายละเอียด 1 ซอยหมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้ เซ็นเตอร์ , บิ๊กคิงส์ บางใหญ่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก เลียบคลองบางแพรก , ห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า 3 หมุ่บ้านรัตนาธิเบศร์ , โชว์รูมฮอนด้า 4 เซ็นทรัล เวสท์เกต บางใหญ่ , โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ รัตนาธิเบศร์ รถโดยสารประจำทาง ขสมก. 516 ป้ายรถประจำทาง ท่า99 134 ป้ายรถประจำทาง ย่านพหลโยธิน 2 127ร ป้ายรถประจำทาง กองเรือเล็ก 2 177ร ป้ายรถประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 2

MRT ลุมพินี

MRT ลุมพินี เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล บนถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างสถานีสีลม และสถานีคลองเตย ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกวิทยุ เยื้องกับสวนลุมพินี จุดบรรจบของถนนวิทยุ และถนนสาทรเหนือ-ใต้ ด้านข้างสะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม สถานที่ใกล้เคียง สะพานลอยไทย-เบลเยี่ยม สวนลุมพินี (ประตูด้านถนนวิทยุ) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สมาคมราชกรีฑาสโมสรโปโลคลับ สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ย่านบ่อนไก่ สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันประจำประเทศไทย สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพ วายดับบลิวซีเอ สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ศาลล้มละลายกลาง สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ฝ่ายความร่วมมือและวัฒนธรรม, แผนกวีซ่า และสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย อาคารสำนักงาน อาคารคิวเฮ้าส์ลุมพินี และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ อาคารลุมพินีทาวเวอร์ อาคารไทวาทาวเวอร์ 1 และ 2 อาคารบุปผจิต อาคารหะรินธร และธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไทยธน